Solid-Liquid Suspension#2


Home

>

Knowledge

>

Solid-Liquid Suspension#2

92 views

-

Solid-Liquid Suspension#2

Zwietering Criteria

..."Solid-liquid suspension ให้ความสำคัญกับการหาค่าความเร็วเริ่มมีการกระจายตัว (Just suspension speed, Njs) หากพิจารณาสมการการหาค่า Njs จะพบตัวแปรตัวหนึ่ง คือ ตัวแปร S เรียกกันว่า Zwietering Criteria เป็นค่าคงที่ ที่มีความสัมพันธ์ของตัวแปรไร้หน่วยซึ่งได้จากการสังเกตการทดลองของ Zwietering โดย

Re คือ Reynolds number
Fr คือ Froude number
D คือ Diameter of Impeller
dp คือ Particle size of solid
X คือ ZWEITERING Mass Ratio

ผู้เขียนจะค่อยๆไล่ทีละตัวครับ ไล่ไปก็มึนๆงงๆ เอาตรงๆก็คือ ว่าปกติผู้เขียนจะมองภาพงานด้าน Fluid Mixing ในเชิงการนำไปใช้งานจริง และ มักจะตัดสมการที่มองว่าไม่จำเป็น หรือ ตัวแปรที่คิดว่าไม่จำเป็นออก เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาออกแบบ (ออกแบบเพื่อสร้างงานจริง) ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทิ้งรากฐานของทฤษฎีไปด้วย, จากตารางจะพบว่าค่า S จะมีค่าแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของใบกวน, ขึ้นกับสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางใบกวนต่อเส้นผ่านศูนย์กลางถัง, ขึ้นกับสัดส่วนระยะห่างใบกวนต่อเส้นผ่านศูนย์กลางถัง ซึ่งทั้งหมดได้มาจากการทดลอง และ การทดลองก็จะมีความสัมพันธ์คงที่ (เลขยกกำลังต่างๆในสมการ) โดยการนำค่า S มาใช้นั้นต้องระวังครับ เนื่องจากเราไม่ทราบพารามิเตอร์อีกหลายส่วนของการทดลอง เช่น จำนวนของ Blades, มุมเอียงของใบกวน, หน้ากว้างของใบกวน, ความโค้ง, การลด gredient ของความกว้าง ฯลฯ หากนำมาใช้เลย เราก็จะได้เพียง --> [ตัวเลขจากการแทนค่าสมการ] และ เมื่อนำไปใช้จริงก็ต้องไปเดาสุ่มกันอีกทีว่าจะผลิตใบกวนออกมาในลักษณะใด, มาถึงตรงนี้อยากให้มองในลักษณะของการใช้งานจริงครับ

พิจารณาตัวแปรแรกก่อน คือ X (ZWEITERING Mass Ratio) โดย
C คือ Solid Concentration
ps คือ Particle Density
pL คือ Liquid density
เมื่อพิจารณาหน่วยของทั้ง 3 ตัวแปร คือ kg/m^3 จากสมการทำให้ X เป็นตัวแปรไร้หน่วย

เมื่อหาค่า X ออกมาได้แล้วจากสมการ Njs ต้องนำ S ไปยกกำลัง 0.13 ตรงนี้ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบจริงๆว่าทำไมต้องยกกำลัง 0.13 แต่เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น ก็ยกกำลัง 0.13 ตามสมการไปก่อนครับ ให้ถือว่าให้เกียรติ ZWEITERING และ ไม่เสียหายอะไรที่จะนำมาใช้เพื่อพิจารณาความถูกต้องของงานจริงๆต่อไป

ผู้เขียนให้ข้อสังเกตเหมือนเดิมครับว่าการแทนค่าเพื่อหา X ต้องอยู่ในกรอบของแนวทางการทดสอบของ ZWEITERING ด้วยครับอย่างน้อยที่ต้องพิจารณาคือ Solid<10%, ความปั่นป่วนควรอยู่ในเกณฑ์ turbulence ซึ่งจริงๆมันจะคลุมเคลือไปหมด กล่าวคือ turbulence ระดับไหน มี Re มากกว่าเท่าไหร่อีก, Viscosity เท่าไหร่ เยอะเยะมากมายกับคำถามครับ ถึงตรงนี้ แค่ไม่อยากให้นำไปใช้โดยที่ไม่ได้ตรองอะไรแค่นั้นเองครับ..."

สถาพร เลี้ยงศิริกูล




Blogs

-

How to Calculate Mixing Time. By MISCIBLE..(1)

How to Calculate Mixing Time. ? By MISCIBLE เราจะคำนวณและประมาณ Mixing Time อย่างไรให้ใช้งานได้จริงๆ Step-1 : Selection Degree of Mixing ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าคำว่า Mixing Time ในนิยามนี้คือ เวลาที่ผสมแล้วเสร็จนะครับ ไม่ได้อ้างอิง Blending, Suspension, Dispersion ฯลฯ เพราะเวลาที่ใช้ผสมเสร็จแต่ละกระบวนการก็เรียกต่างกัน แต่เอาเป็นว่าอย่าทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยาก ก็ใช้คำว่า Mixing Time ก็จบครับ เข้าใจกันง่ายๆดี เราจะไม่หา Mixing Time แบบการใช้ Scale Up นะครับ เพราะถ้าทำแบบนั้น เราคงต้องทำ Existing Model ในแล๊ปกันตลอด ซึ่งในชีวิตจริงไม่มีใครทำกันครับ (เว้นแต่มันจำเป็นจริงๆ) หรือ หากจะศึกษาการหา Mixing Time โดยการใช้ Scale Up ก็สามารถหาอ่านได้ทั่วไปครับมีข้อมูลเยอะมากๆให้อ่านกัน, แต่เราจะพูดกันถึงในจุดที่ว่า...เราคือผู้ออกแบบและผลิต และ กรณีที่เราต้องสร้าง Mixing Tank ขนาด 5,000 ลิตร, แล้วเราจะต้องรับประกัน Mixing Time กับลูกค้า...แล้วเราจะทำอย่างไร...? Step-1 : Selection Degree of Mixing อ้างอิงการออกแบบตามแนวทางของ MISCIBLE, ผมจะแบ่ง Degree of Mixing ออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. Keep Homogenizer 2. Slightly Blending 3. Medium Mixing 4. Strong Mixing 5. Solve Crystals ขั้นตอนในการเลือก Degree of Mixing จะเลือกหลังจากเราได้ออกแบบและคำนวณ Speed of Impellers เรียบร้อยแล้วครับ, จากนั้นเราจะมาเลือก Degree of Mixing ให้เหมาะกับ Mixing Task, ตรงนี้พูดตรงๆคือ ต้องอาศัยประสบการณ์จริงๆครับ ไม่มีตำราสรุปให้เป็นแน่เพราะงาน Mixing มันกว้างมากๆ มาดูวิธีการกันครับ Vessel Diameter : 2000 mm Liquid Level : 1591.55 mm Volume : 5000 Liters ขั้นตอนแรก : Volume Calculation ก็ทำตามปกติครับ ให้ได้ Working Volume ออกมาตามที่กระบวนการต้องการ, ตรงนี้จะใช้ Dimension ความยาวเฉพาะ เส้นผ่านศูนย์กลางถัง และ ระดับของเหลว เท่านั้น ขั้นตอนที่สอง : Speed Calculation ก่อนจะออกมาเป็น Output Speed นั้นต้องผ่านการคำนวณด้าน Mechanic มาแล้วทั้งหมดครับว่า หากเราจะใช้ Speed แค่นี้จะทำให้เพลาเราแกว่งมั้ย, ขนาดเพลาพอมั้ย, มีลูกปืนรับแบบไหน, ออกแบบ Housing Bearing แบบไหน ฯลฯ แล้วเราจะได้ Speed ออกมา, ตรงนี้ผมได้ Speed 300 RPM ครับ ขั้นตอนที่สาม : Selection Degree of Mixing 3.1 หากเลือก Keep Homogenizer เราจะคำนวณ Specific Torque in Nm/m^3 ได้เท่ากับ 0.15 และ เราจะคำนวณ Diameter of Impeller ได้เท่ากับ 235 mm ระยะ Pitch 235 mm เช่นกัน 3.2 หากเลือก Slightly Blending เราจะคำนวณ Specific Torque in Nm/m^3 ได้เท่ากับ 0.35 และ เราจะคำนวณ Diameter of Impeller ได้เท่ากับ 280 mm ระยะ Pitch 280 mm เช่นกัน 3.3 หากเลือก Solve Crystals เราจะคำนวณ Specific Torque in Nm/m^3 ได้เท่ากับ 3.2 และ เราจะคำนวณ Diameter of Impeller ได้เท่ากับ 435 mm ระยะ Pitch 435 mm เช่นกัน ครั้งต่อไปเราจะมาดู Step-2 และ สุดท้ายเราจะเอา Step-1,2 ไป หา Mixing Time ต่อไปครับ Sataporn Liengsirikul (Agitator Designer) Tel : 091.7400.555 www.miscible.co.th Email : miscible@miscible.co.th MISCIBLE TECHNOLOGY CO., LTD

Next
-

How to Calculate Mixing Time. By MISCIBLE..(2)

How to Calculate Mixing Time. ? By MISCIBLE เราจะคำนวณและประมาณ Mixing Time อย่างไรให้ใช้งานได้จริงๆ Step-2 : Calculate Pumping Capacity and P-Number หลังจากเราเลือก Degree of Mixing แล้ว เราก็ต้องมาคำนวณค่า Pumping Capacity and P-Number ซึ่งจะได้ค่าต่างๆตาม Degree of Mixing ดังนี้ คือ Hydraulic Data Calculation for Keep Homogenizer Re = 2.76E+5 Tip Speed = 3.69 m/sec Axial Pumping Capacity = 86.775 (m^3/h) Overall Pumping Capacity = 183.4 (m^3/h) P-Number = 17.3 (1/h) Quality number = 18.15 (--) Pumping Number = 0.464 (--) Hydraulic Data Calculation for Slightly Blending Re = 3.92E+5 Tip Speed = 4.4 m/sec Axial Pumping Capacity = 146.779 (m^3/h) Overall Pumping Capacity = 310.3 (m^3/h) P-Number = 29.355 (1/h) Quality number = 30.7 (--) Pumping Number = 0.477 (--) Hydraulic Data Calculation for Solve Crystals Re = 9.46E+5 Tip Speed = 6.83 m/sec Axial Pumping Capacity = 550.375 (m^3/h) Overall Pumping Capacity = 1163.6 (m^3/h) P-Number = 110.07 (1/h) Quality number = 115.1 (--) Pumping Number = 0.512 (--) ครั้งต่อไปเราจะมาดูว่า ค่าคำนวณต่างๆจาก Step.1 และ Step.2 จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณและเลือก Mixing Time อย่างไรครับ Sataporn Liengsirikul (Agitator Designer) Tel : 091.7400.555 www.miscible.co.th Email : miscible@miscible.co.th MISCIBLE TECHNOLOGY CO., LTD

Next